ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันมาก การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ ดังนั้นจึงต้องการกลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ และ
Affiliate Marketing ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของเว็บไซต์และผู้ค้า ทำให้เจ้าของสินค้าสามารถส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆของผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคได้โดยตรงและรวดเร็ว นอกจากนี้การทำการตลาดวิธีนี้ยังเอื้อประโยชน์อีกหลากหลายประการ ได้แก่ มีโอกาสทำกำไรมาก, สามารถทำเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง, ลดต้นทุน และค่าใช้จ่าย
Affiliate Marketing ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของเว็บไซต์และผู้ค้า ทำให้เจ้าของสินค้าสามารถส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆของผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคได้โดยตรงและรวดเร็ว นอกจากนี้การทำการตลาดวิธีนี้ยังเอื้อประโยชน์อีกหลากหลายประการ ได้แก่ มีโอกาสทำกำไรมาก, สามารถทำเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง, ลดต้นทุน และค่าใช้จ่าย
คำสำคัญ : Affiliate Marketing, แบนเนอร์, Compensation Models
1. บทนำ
Affiliate Marketing หรือการทำการตลาดแบบสมาชิกสาขาเป็นวิธีการทำการตลาดโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของเว็บไซต์และผู้ค้า(เจ้าของสินค้า) โดยมีการเชื่อมโยงหรือมีลิงค์เสนอขายสินค้าหรือบริการไปยังเว็บไซต์ของเจ้าของสินค้า และทางบริษัทเจ้าของสินค้าจะจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้แทนโฆษณา เมื่อมีคนเข้ามายังเว็บไซต์ของบริษัท และคนคนนั้นได้ทำธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่บริษัทกำหนดไว้ เช่น ซื้อสินค้าหรือ สมัครสมาชิก เป็นต้น ผ่านทางเครื่องมือของผู้แทนโฆษณา เช่น Banner , Email ซึ่งถือได้ว่าเป็นการทำการตลาดรูปแบบใหม่ที่ช่วยลดช่องทางระหว่างผู้ขาย และผู้ซื้อ
ประวัติความเป็นมาของ Affiliate Marketing
Affiliate marketing เริ่มต้นและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Amazon.com คือ Jeff Bezos ได้คุยกับผู้ที่ต้องการขายหนังสือในเว็บไซต์ของเธอ ทำให้ Bezos คิดว่า ทำไมผู้ขายหนังสือคนนั้นไม่ลิงค์เว็บไซต์มายังเว็บไซต์ Amazon หลังจากนั้นไม่นาน Amazon ก็ได้แนะนำโปรแกรมสมาชิกของอเมซอน (Amazon Associate Program) ซึ่งเป็นความคิดพื้นฐานง่าย ๆ โดยที่สมาชิกของ Amazon จะวางแบนเนอร์ลิงค์หรือลิงค์ข้อความของหนังสือแต่ละเล่มบนเว็บไซต์ของสมาชิกหรือวางลิงค์ของ Amazon แล้วส่งไปยังหน้าโฮมเพจของ Amazon โดยตรง
เมื่อผู้เข้าชมคลิกจากเว็บไซต์ของสมาชิกสาขาผ่านไปยังเว็บไซต์ Amazon.com แล้วทำธุรกรรมซึ่งในที่นี้คือการซื้อหนังสือ สมาชิกก็จะได้รับค่านายหน้า
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จัก และใช้ระบบ Affiliate Marketing
• eBay.com ให้ค่าตอบแทนกับผู้แทนโฆษณา $12 ทุกครั้งที่ สามารถแนะนำให้คนมาสมัครสมาชิก
• AbeBooks.com ให้ค่าตอบแทนกับผู้แทนโฆษณา 5% ของยอดขายทั้งหมดที่ผู้แทนโฆษณาทำได้
2. Affiliate Program Models
Affiliate program models เป็นการเชื่อมโยงระหว่างเว็บไซด์ด้วยกัน ดังนั้นรูปแบบการนำเสนอที่จะสื่อสารไปยังผู้บริโภคจึงสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ แล้วแต่ความเหมาะสมของตัวสินค้านั้นๆ โดยสามารถนำเสนอโฆษณา ผ่านทาง Models ต่างๆ ดังนี้
· แบนเนอร์ และลิงค์ (Banner or text links) เป็นรูปแบบหนึ่งของ Affiliate marketing ที่มีการสร้างภาพหรือลิงค์ขึ้นมาเพื่ออธิบายหรือให้คำจำกัดความโดยย่อของสินค้า เมื่อลูกค้าคลิกไปยังแบนเนอร์นั้นๆ จะทำให้สามารถเข้าไปสู่เว็บไซต์ของเจ้าของสินค้าได้ ส่วนใหญ่แล้วการโฆษณารูปแบบนี้มักจะดำเนินการกับสินค้าประเภทบริการ เช่น บริการทางการเงิน
· Storefronts คือ Model ที่ไม่ได้นำเสนอหรือขายสินค้าใดๆบนเว็บไซต์ แต่เป็นการสร้างความเชื่อมโยงจากตัวแทนโฆษณาหนึ่งไปยังอีกตัวแทนหนึ่ง เสมือนเป็นการสร้างเพียงช่องทางการเชื่อมโยงระหว่างตัวแทนโฆษณาด้วยกันเอง เพื่อให้เกิดการเข้าชมเว็บไซต์ให้มากที่สุด
· ป๊อปอัฟ (Pop-Ups) สินค้าบางตัว ทำการโฆษณาโดยใช้หน้าต่าง pop ups ซึ่งเป็นหน้าต่างเล็กๆที่เปิดขึ้นมาเมื่อมีการเข้าชมเว็บไซต์ ทำให้ลูกค้าได้รับข้อความจากเจ้าของสินค้าได้โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนหน้าต่างเว็บไซต์นั้น เนื่องจากหน้าต่าง pop ups จะปรากฏขึ้นมาซ้อนกับหน้าต่างเว็บไซต์เดิม
· อีเมล์ (Email) เมื่อลูกค้าเข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ บางเว็บไซต์จะมีช่องให้ใส่อีเมล์ไว้สำหรับผู้ที่สนใจรับข่าวสารเพิ่มเติมจากเจ้าของเว็บไซต์ ซึ่งการใช้อีเมล์สามารถสื่อสารได้โดยตรงกับผู้บริโภค ตรงกลุ่มเป้าหมาย และยังสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้แม้ว่าเขาไม่ได้เปิดเข้าชมเว็บไซต์ก็ตาม
· ทูเทียร์โปรแกรม (Two-Tier Programs) เป็น Model หนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกับการสร้างเครือข่ายแบบการขายตรง เนื่องจากจะมีการโฆษณาที่จัดทำโดยผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง และมีแรงจูงใจเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าตอบแทนจากลูกค้า ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้สามารถสร้างเครือข่ายการโฆษณาได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง เนื่องจากเปรียบเสมือนเป็นการสร้างสาขาโดยมีตัวแทนช่วยทำโฆษณาเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง
3. รูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนของ Affiliate marketing (Compensation Models)
การจ่ายต่อการเห็นโฆษณา (Pay-Per-Impression: CPM)
CPM มาจากคำว่า cost-per-mil โดยใช้ยอดคนเห็นที่ 1 พันคน (= 1 mil) เป็นหลักในการคิดค่าตอบแทน ซึ่งยอดการเห็นนี้อาจจะไม่ใช่ยอดคนเห็นโฆษณาจริง ๆ แต่เป็นยอดของโฆษณาที่อยู่ในหน้าเว็บ หรือหน้าแสดงผล โฆษณาที่ใช้ในลักษณะนี้อาจเป็นโฆษณาแบบข้อความ หรือเป็นภาพแบนเนอร์ ก็ได้
การจ่ายต่อการคลิ๊ก หรือ Pay-Per-Click (CPC)
เป็นรูปแบบการจ่ายที่ผู้ค้าหรือเจ้าของสินค้า/บริการจ่ายเงินให้กับผู้แทนโฆษณา ทุกๆครั้งที่มีผู้เข้าชม และคลิ๊กบนโฆษณาของผู้ค้า/เจ้าของสินค้า ซึ่งไม่จำเป็นที่ผู้เข้าชมเหล่านั้นจะต้องซื้อสินค้าที่โฆษณา
การจ่ายต่อการแนะนำ หรือ Pay-Per-Lead, CPA หรือ CPL)
ผู้ค้าหรือเจ้าของสินค้าจะจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้แทนเป็นจำนวนที่แน่นอนต่อการกระทำแต่ละครั้ง และเป็นค่าคอมมิชชั่นสำหรับผู้เข้าชมทุก ๆ คนที่แนะนำผ่านมาทางผู้แทนโฆษณาไปยังเว็บไซต์ของผู้ค้า แล้วผู้เข้าชมได้กระทำบางอย่างที่ผู้ค้าหรือเจ้าของสินค้าต้องการให้กระทำ เช่น การสมัครสมาชิก กรอกแบบฟอร์ม เปิดบัญชีหรือลงนามรับจดหมาย เป็นต้น
การจ่ายต่อยอดขาย หรือ Pay-Per-Sale (CPS)
รูปแบบการจ่ายที่ผู้ค้าหรือเจ้าของสินค้าจ่ายผู้แทนโฆษณาเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดการสั่งซื้อ (หรือยอดขาย) ที่เกิดขึ้นจากลูกค้าที่ผ่านการแนะนำจากผู้แทนโฆษณา รูปแบบนี้เป็นรูปแบบการตอบแทนส่วนใหญ่ที่ใช้ในร้านค้าปลีกออนไลน์ที่มีโปรแกรม Affiliate
รูปแบบการจ่ายต่อการโทรศัพท์ หรือ Pay-Per-Call
เป็นรูปแบบผลตอบแทนที่ผู้ค้าจ่ายให้กับผู้แทนโฆษณา โดยจ่ายเป็นค่าคอมมิชชั่นสำหรับการโทรศัพท์ที่ได้รับจากลูกค้าตามการตอบต่อโฆษณาของผู้แทนโฆษณาโดยเฉพาะ ซึ่งเทคโนโลยีการติดตามผลทางโทรศัพท์นี้สามารถสร้างการเชื่อมโยงระหว่างการโฆษณาแบบออนไลน์กับแบบออฟไลน์ได้
4. วิธีที่ทำให้ Affiliate marketing ประสบความสำเร็จ
ถึงแม้ว่า Affiliate marketing จะเป็นรูปแบบการทำการตลาดที่ง่าย แต่การที่จะทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าและอยู่ได้อย่างยั่งยืน ก็จำเป็นต้องอาศัยขั้นตอนหลักๆเพื่อทำ Affiliate marketing ให้ประสบความสำเร็จ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
Pick a Market
Affiliate marketing สามารถดำเนินการได้กับสินค้าแทบทุกประเภท และทุกตลาด ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะจำกัดการเลือกโฆษณาในสินค้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งเท่านั้น โดยควรเลือกตลาดสินค้ามาหนึ่งตลาด เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างครอบคลุม และสามารถสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าได้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาข้อมูลของสินค้าชนิดนั้น เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการ และความจำเป็นในการใช้สินค้านั้นๆของลูกค้าด้วย
Pick a Product
เมื่อมีการเลือกตลาดสินค้าแล้ว เราควรที่จะเริ่มต้นจากสินค้าเพียงหนึ่งชนิดก่อน เพื่อเป็นการมุ่งเน้นไปยังผลิตภัณฑ์ตัวนั้นโดยเฉพาะ และค่อยๆขยายสินค้าให้ครอบคลุมทั้งตลาด เพื่อเป็นการสร้างโอกาสการเข้าชมเว็บไซด์ของคนที่สนใจให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยลดต้นทุนการทำโฆษณา และเพิ่มกำไรให้เพิ่มขึ้นได้
Build a follow-up series
เป็นขั้นตอนของการทำโฆษณาที่จำเป็นจะต้องเลือกถ้อยคำที่เหมาะสมต่อสินค้าประเภทนั้นๆ โดยต้องเป็นคำที่ตรงใจกับผู้บริโภคและคิดว่าเขาจะเลือกคำไหนมาเป็นกุญแจสำคัญในการค้นหาสินค้าจากเว็บไซด์ต่างๆ เพื่อเป็นการรับประกันว่า เมื่อมีการโฆษณาแล้วจะทำให้มีคนสนใจในการโฆษณาของเราอย่างแน่นอน
Build an email capture page
สร้าง Email capture page หรือเป็นหน้าที่ให้ผู้ที่สนใจใส่ email ซึ่งจะช่วยให้เราได้ข้อมูลข่าวสารต่างๆเกี่ยวกับลูกค้าที่คาดหวังได้ และเรายังสามารถส่งรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าตามไปถึงตัวลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น Email capture page จึงเปรียบเสมือนช่องทางติดต่อลูกค้าได้โดยตรงนั่นเอง
Find additional related products
เมื่อธุรกิจของเราเริ่มต้นทำกำไรแล้ว ควรเพิ่มจำนวนสินค้าเข้าไปในรายการของเรา โดยจำเป็นที่จะต้องเลือกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เดิมของเรา หรืออยู่ในสายผลิตภัณฑ์ประเภทเดิม เนื่องจากลูกค้าจะคาดหวังหรือรับรู้ว่าสินค้าเราเป็นอย่างใดจากประสบการณ์เดิม ดังนั้น ถ้าเราเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ไปยังประเภทอื่นอาจจะทำให้ลูกค้าเกิดความสับสนและไม่แน่ใจในสินค้าของเรา
5. ข้อได้เปรียบของ Affiliate Marketing
ไม่น่าแปลกใจที่ Affiliate Marketing เป็นที่น่าสนใจเนื่องจากเป็นช่องทางการตลาดที่ง่ายและได้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ Affiliate Marketing ยังมีข้อได้เปรียบหลายประการ ดังนี้
· มีโอกาสทำกำไรสูง ถ้าหากเราสามารถโฆษณาได้ดี เราก็จะสามารถทำกำไรกลับมาได้อย่างมหาศาลจากการโฆษณา จนบางครั้ง นักธุรกิจ Affiliate Marketing หรือ Affiliate Marketer บางคนสามารถทำเงินค่าตอบแทนกลับมาได้มากว่า เงินที่ทางบริษัทได้กำไรจากการขายสินค้าทั้งหมดเสียอีก
· สามารถทำเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากตลาดคือ คนจากทั่วทุกมุมโลก ดังนั้นเราสามารถทำเงินจากธุรกิจนี้ได้ตลอดเวลา ขอเพียงเราทำการโฆษณาเว็บไซต์ไว้ตลอดเวลา เราก็สามารถที่จะทำเงินได้
· ใช้เงินลงทุนต่ำ การสมัคร Affiliate Program นั้น ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่จำเป็นต้องมีระบบในการติดตามงาน ไม่มีค่าผลิตและค่าเก็บรักษาสินค้า ทำให้เงินลงทุนเบื้องต้นในการทำ Affiliate Marketing น้อยมาก และต้นทุนเฉลี่ยต่อหัวก็ต่ำ เนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าคงคลังมาเก็บไว้ เนื่องจากเมื่อลูกค้าต้องการสินค้าเขาก็ติดต่อรับสินค้าจากเจ้าของสินค้านั้นๆ โดยตรง
· ยืดหยุ่นสูง ความยืดหยุ่นของ Affiliate Program คือ เราสามารถเลือกโฆษณาสินค้าและบริการให้กับบริษัทไหน เวลาไหนก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด รวมทั้งสามารถสมัครเป็นผู้แทนโฆษณากับบริษัทต่างๆทั่วโลกได้ ทำให้เราสามารถโฆษณาได้ไม่จำกัด โดยที่ฐานลูกค้าของเราก็คือ คนทั่วทั้งโลก นั่นเอง
6. บทสรุป
Affiliate marketing เข้ามามีบทบาทสำคัญในการโฆษณาผ่านทางอินเตอร์เน็ต และสามารถโฆษณาผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งอาศัยความได้เปรียบในการส่งข้อมูลข่าวสารของสินค้าและบริการไปยังผู้บริโภคโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคที่นิยมการหาสินค้าและบริการต่างผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตได้ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทและนักการตลาดในหลายๆทิศทาง เช่น ลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย
References:
http://www.articles2k.com/article/5/48834/Overview_Of_An_Affiliate_Marketing_Program/ http://en.wikipedia.org/wiki/Affiliate_marketing#Affiliate_Networks_and_CPA_Networks
http://forum.abestweb.com/showthread.php?t=6708
1. บทนำ
Affiliate Marketing หรือการทำการตลาดแบบสมาชิกสาขาเป็นวิธีการทำการตลาดโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของเว็บไซต์และผู้ค้า(เจ้าของสินค้า) โดยมีการเชื่อมโยงหรือมีลิงค์เสนอขายสินค้าหรือบริการไปยังเว็บไซต์ของเจ้าของสินค้า และทางบริษัทเจ้าของสินค้าจะจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้แทนโฆษณา เมื่อมีคนเข้ามายังเว็บไซต์ของบริษัท และคนคนนั้นได้ทำธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่บริษัทกำหนดไว้ เช่น ซื้อสินค้าหรือ สมัครสมาชิก เป็นต้น ผ่านทางเครื่องมือของผู้แทนโฆษณา เช่น Banner , Email ซึ่งถือได้ว่าเป็นการทำการตลาดรูปแบบใหม่ที่ช่วยลดช่องทางระหว่างผู้ขาย และผู้ซื้อ
ประวัติความเป็นมาของ Affiliate Marketing
Affiliate marketing เริ่มต้นและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Amazon.com คือ Jeff Bezos ได้คุยกับผู้ที่ต้องการขายหนังสือในเว็บไซต์ของเธอ ทำให้ Bezos คิดว่า ทำไมผู้ขายหนังสือคนนั้นไม่ลิงค์เว็บไซต์มายังเว็บไซต์ Amazon หลังจากนั้นไม่นาน Amazon ก็ได้แนะนำโปรแกรมสมาชิกของอเมซอน (Amazon Associate Program) ซึ่งเป็นความคิดพื้นฐานง่าย ๆ โดยที่สมาชิกของ Amazon จะวางแบนเนอร์ลิงค์หรือลิงค์ข้อความของหนังสือแต่ละเล่มบนเว็บไซต์ของสมาชิกหรือวางลิงค์ของ Amazon แล้วส่งไปยังหน้าโฮมเพจของ Amazon โดยตรง
เมื่อผู้เข้าชมคลิกจากเว็บไซต์ของสมาชิกสาขาผ่านไปยังเว็บไซต์ Amazon.com แล้วทำธุรกรรมซึ่งในที่นี้คือการซื้อหนังสือ สมาชิกก็จะได้รับค่านายหน้า
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จัก และใช้ระบบ Affiliate Marketing
• eBay.com ให้ค่าตอบแทนกับผู้แทนโฆษณา $12 ทุกครั้งที่ สามารถแนะนำให้คนมาสมัครสมาชิก
• AbeBooks.com ให้ค่าตอบแทนกับผู้แทนโฆษณา 5% ของยอดขายทั้งหมดที่ผู้แทนโฆษณาทำได้
2. Affiliate Program Models
Affiliate program models เป็นการเชื่อมโยงระหว่างเว็บไซด์ด้วยกัน ดังนั้นรูปแบบการนำเสนอที่จะสื่อสารไปยังผู้บริโภคจึงสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ แล้วแต่ความเหมาะสมของตัวสินค้านั้นๆ โดยสามารถนำเสนอโฆษณา ผ่านทาง Models ต่างๆ ดังนี้
· แบนเนอร์ และลิงค์ (Banner or text links) เป็นรูปแบบหนึ่งของ Affiliate marketing ที่มีการสร้างภาพหรือลิงค์ขึ้นมาเพื่ออธิบายหรือให้คำจำกัดความโดยย่อของสินค้า เมื่อลูกค้าคลิกไปยังแบนเนอร์นั้นๆ จะทำให้สามารถเข้าไปสู่เว็บไซต์ของเจ้าของสินค้าได้ ส่วนใหญ่แล้วการโฆษณารูปแบบนี้มักจะดำเนินการกับสินค้าประเภทบริการ เช่น บริการทางการเงิน
· Storefronts คือ Model ที่ไม่ได้นำเสนอหรือขายสินค้าใดๆบนเว็บไซต์ แต่เป็นการสร้างความเชื่อมโยงจากตัวแทนโฆษณาหนึ่งไปยังอีกตัวแทนหนึ่ง เสมือนเป็นการสร้างเพียงช่องทางการเชื่อมโยงระหว่างตัวแทนโฆษณาด้วยกันเอง เพื่อให้เกิดการเข้าชมเว็บไซต์ให้มากที่สุด
· ป๊อปอัฟ (Pop-Ups) สินค้าบางตัว ทำการโฆษณาโดยใช้หน้าต่าง pop ups ซึ่งเป็นหน้าต่างเล็กๆที่เปิดขึ้นมาเมื่อมีการเข้าชมเว็บไซต์ ทำให้ลูกค้าได้รับข้อความจากเจ้าของสินค้าได้โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนหน้าต่างเว็บไซต์นั้น เนื่องจากหน้าต่าง pop ups จะปรากฏขึ้นมาซ้อนกับหน้าต่างเว็บไซต์เดิม
· อีเมล์ (Email) เมื่อลูกค้าเข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ บางเว็บไซต์จะมีช่องให้ใส่อีเมล์ไว้สำหรับผู้ที่สนใจรับข่าวสารเพิ่มเติมจากเจ้าของเว็บไซต์ ซึ่งการใช้อีเมล์สามารถสื่อสารได้โดยตรงกับผู้บริโภค ตรงกลุ่มเป้าหมาย และยังสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้แม้ว่าเขาไม่ได้เปิดเข้าชมเว็บไซต์ก็ตาม
· ทูเทียร์โปรแกรม (Two-Tier Programs) เป็น Model หนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกับการสร้างเครือข่ายแบบการขายตรง เนื่องจากจะมีการโฆษณาที่จัดทำโดยผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง และมีแรงจูงใจเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าตอบแทนจากลูกค้า ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้สามารถสร้างเครือข่ายการโฆษณาได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง เนื่องจากเปรียบเสมือนเป็นการสร้างสาขาโดยมีตัวแทนช่วยทำโฆษณาเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง
3. รูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนของ Affiliate marketing (Compensation Models)
การจ่ายต่อการเห็นโฆษณา (Pay-Per-Impression: CPM)
CPM มาจากคำว่า cost-per-mil โดยใช้ยอดคนเห็นที่ 1 พันคน (= 1 mil) เป็นหลักในการคิดค่าตอบแทน ซึ่งยอดการเห็นนี้อาจจะไม่ใช่ยอดคนเห็นโฆษณาจริง ๆ แต่เป็นยอดของโฆษณาที่อยู่ในหน้าเว็บ หรือหน้าแสดงผล โฆษณาที่ใช้ในลักษณะนี้อาจเป็นโฆษณาแบบข้อความ หรือเป็นภาพแบนเนอร์ ก็ได้
การจ่ายต่อการคลิ๊ก หรือ Pay-Per-Click (CPC)
เป็นรูปแบบการจ่ายที่ผู้ค้าหรือเจ้าของสินค้า/บริการจ่ายเงินให้กับผู้แทนโฆษณา ทุกๆครั้งที่มีผู้เข้าชม และคลิ๊กบนโฆษณาของผู้ค้า/เจ้าของสินค้า ซึ่งไม่จำเป็นที่ผู้เข้าชมเหล่านั้นจะต้องซื้อสินค้าที่โฆษณา
การจ่ายต่อการแนะนำ หรือ Pay-Per-Lead, CPA หรือ CPL)
ผู้ค้าหรือเจ้าของสินค้าจะจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้แทนเป็นจำนวนที่แน่นอนต่อการกระทำแต่ละครั้ง และเป็นค่าคอมมิชชั่นสำหรับผู้เข้าชมทุก ๆ คนที่แนะนำผ่านมาทางผู้แทนโฆษณาไปยังเว็บไซต์ของผู้ค้า แล้วผู้เข้าชมได้กระทำบางอย่างที่ผู้ค้าหรือเจ้าของสินค้าต้องการให้กระทำ เช่น การสมัครสมาชิก กรอกแบบฟอร์ม เปิดบัญชีหรือลงนามรับจดหมาย เป็นต้น
การจ่ายต่อยอดขาย หรือ Pay-Per-Sale (CPS)
รูปแบบการจ่ายที่ผู้ค้าหรือเจ้าของสินค้าจ่ายผู้แทนโฆษณาเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดการสั่งซื้อ (หรือยอดขาย) ที่เกิดขึ้นจากลูกค้าที่ผ่านการแนะนำจากผู้แทนโฆษณา รูปแบบนี้เป็นรูปแบบการตอบแทนส่วนใหญ่ที่ใช้ในร้านค้าปลีกออนไลน์ที่มีโปรแกรม Affiliate
รูปแบบการจ่ายต่อการโทรศัพท์ หรือ Pay-Per-Call
เป็นรูปแบบผลตอบแทนที่ผู้ค้าจ่ายให้กับผู้แทนโฆษณา โดยจ่ายเป็นค่าคอมมิชชั่นสำหรับการโทรศัพท์ที่ได้รับจากลูกค้าตามการตอบต่อโฆษณาของผู้แทนโฆษณาโดยเฉพาะ ซึ่งเทคโนโลยีการติดตามผลทางโทรศัพท์นี้สามารถสร้างการเชื่อมโยงระหว่างการโฆษณาแบบออนไลน์กับแบบออฟไลน์ได้
4. วิธีที่ทำให้ Affiliate marketing ประสบความสำเร็จ
ถึงแม้ว่า Affiliate marketing จะเป็นรูปแบบการทำการตลาดที่ง่าย แต่การที่จะทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าและอยู่ได้อย่างยั่งยืน ก็จำเป็นต้องอาศัยขั้นตอนหลักๆเพื่อทำ Affiliate marketing ให้ประสบความสำเร็จ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
Pick a Market
Affiliate marketing สามารถดำเนินการได้กับสินค้าแทบทุกประเภท และทุกตลาด ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะจำกัดการเลือกโฆษณาในสินค้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งเท่านั้น โดยควรเลือกตลาดสินค้ามาหนึ่งตลาด เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างครอบคลุม และสามารถสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าได้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาข้อมูลของสินค้าชนิดนั้น เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการ และความจำเป็นในการใช้สินค้านั้นๆของลูกค้าด้วย
Pick a Product
เมื่อมีการเลือกตลาดสินค้าแล้ว เราควรที่จะเริ่มต้นจากสินค้าเพียงหนึ่งชนิดก่อน เพื่อเป็นการมุ่งเน้นไปยังผลิตภัณฑ์ตัวนั้นโดยเฉพาะ และค่อยๆขยายสินค้าให้ครอบคลุมทั้งตลาด เพื่อเป็นการสร้างโอกาสการเข้าชมเว็บไซด์ของคนที่สนใจให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยลดต้นทุนการทำโฆษณา และเพิ่มกำไรให้เพิ่มขึ้นได้
Build a follow-up series
เป็นขั้นตอนของการทำโฆษณาที่จำเป็นจะต้องเลือกถ้อยคำที่เหมาะสมต่อสินค้าประเภทนั้นๆ โดยต้องเป็นคำที่ตรงใจกับผู้บริโภคและคิดว่าเขาจะเลือกคำไหนมาเป็นกุญแจสำคัญในการค้นหาสินค้าจากเว็บไซด์ต่างๆ เพื่อเป็นการรับประกันว่า เมื่อมีการโฆษณาแล้วจะทำให้มีคนสนใจในการโฆษณาของเราอย่างแน่นอน
Build an email capture page
สร้าง Email capture page หรือเป็นหน้าที่ให้ผู้ที่สนใจใส่ email ซึ่งจะช่วยให้เราได้ข้อมูลข่าวสารต่างๆเกี่ยวกับลูกค้าที่คาดหวังได้ และเรายังสามารถส่งรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าตามไปถึงตัวลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น Email capture page จึงเปรียบเสมือนช่องทางติดต่อลูกค้าได้โดยตรงนั่นเอง
Find additional related products
เมื่อธุรกิจของเราเริ่มต้นทำกำไรแล้ว ควรเพิ่มจำนวนสินค้าเข้าไปในรายการของเรา โดยจำเป็นที่จะต้องเลือกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เดิมของเรา หรืออยู่ในสายผลิตภัณฑ์ประเภทเดิม เนื่องจากลูกค้าจะคาดหวังหรือรับรู้ว่าสินค้าเราเป็นอย่างใดจากประสบการณ์เดิม ดังนั้น ถ้าเราเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ไปยังประเภทอื่นอาจจะทำให้ลูกค้าเกิดความสับสนและไม่แน่ใจในสินค้าของเรา
5. ข้อได้เปรียบของ Affiliate Marketing
ไม่น่าแปลกใจที่ Affiliate Marketing เป็นที่น่าสนใจเนื่องจากเป็นช่องทางการตลาดที่ง่ายและได้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ Affiliate Marketing ยังมีข้อได้เปรียบหลายประการ ดังนี้
· มีโอกาสทำกำไรสูง ถ้าหากเราสามารถโฆษณาได้ดี เราก็จะสามารถทำกำไรกลับมาได้อย่างมหาศาลจากการโฆษณา จนบางครั้ง นักธุรกิจ Affiliate Marketing หรือ Affiliate Marketer บางคนสามารถทำเงินค่าตอบแทนกลับมาได้มากว่า เงินที่ทางบริษัทได้กำไรจากการขายสินค้าทั้งหมดเสียอีก
· สามารถทำเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากตลาดคือ คนจากทั่วทุกมุมโลก ดังนั้นเราสามารถทำเงินจากธุรกิจนี้ได้ตลอดเวลา ขอเพียงเราทำการโฆษณาเว็บไซต์ไว้ตลอดเวลา เราก็สามารถที่จะทำเงินได้
· ใช้เงินลงทุนต่ำ การสมัคร Affiliate Program นั้น ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่จำเป็นต้องมีระบบในการติดตามงาน ไม่มีค่าผลิตและค่าเก็บรักษาสินค้า ทำให้เงินลงทุนเบื้องต้นในการทำ Affiliate Marketing น้อยมาก และต้นทุนเฉลี่ยต่อหัวก็ต่ำ เนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าคงคลังมาเก็บไว้ เนื่องจากเมื่อลูกค้าต้องการสินค้าเขาก็ติดต่อรับสินค้าจากเจ้าของสินค้านั้นๆ โดยตรง
· ยืดหยุ่นสูง ความยืดหยุ่นของ Affiliate Program คือ เราสามารถเลือกโฆษณาสินค้าและบริการให้กับบริษัทไหน เวลาไหนก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด รวมทั้งสามารถสมัครเป็นผู้แทนโฆษณากับบริษัทต่างๆทั่วโลกได้ ทำให้เราสามารถโฆษณาได้ไม่จำกัด โดยที่ฐานลูกค้าของเราก็คือ คนทั่วทั้งโลก นั่นเอง
6. บทสรุป
Affiliate marketing เข้ามามีบทบาทสำคัญในการโฆษณาผ่านทางอินเตอร์เน็ต และสามารถโฆษณาผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งอาศัยความได้เปรียบในการส่งข้อมูลข่าวสารของสินค้าและบริการไปยังผู้บริโภคโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคที่นิยมการหาสินค้าและบริการต่างผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตได้ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทและนักการตลาดในหลายๆทิศทาง เช่น ลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย
References:
http://www.articles2k.com/article/5/48834/Overview_Of_An_Affiliate_Marketing_Program/ http://en.wikipedia.org/wiki/Affiliate_marketing#Affiliate_Networks_and_CPA_Networks
http://forum.abestweb.com/showthread.php?t=6708
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น