วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มาจากที่หนึ่ง ไปอีกที่หนึ่ง แต่แล้วก็มาถึงที่นี่

I.

1. Ich (komme) morgen wieder.
I’ll come again tomorrow.
ฉันจะมาใหม่วันพรุ่งนี้


[ข้อสังเกต: ประโยคภาษาเยอรมันจะเรียงเวลาไว้ก่อนคำขยายอื่นๆ morgen = tomorrow, wieder = again]



2. Christine (singt) gern Karaoke.
Christine sings Karaoke with pleasure. = Christine likes to sing Karaoke.
Christine ชอบร้องคาราโอเกะ


[ข้อสังเกต: ในประโยคภาษาเยอรมันนั้นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับกริยาสูงสุดจะไปอยู่หลังสุด (ในที่นี้คือกรรมตรง Karaoke) แล้วคำอื่นๆ ใส่ระหว่างกริยากับคำหลังสุดเรียงจากด้านหลังเข้ามา เพราะสภาพที่มีกริยาและคำสุดท้ายเป็นกรอบบีบเอาไว้จึงเรียกว่า frame structure]



3. Was (machst) du gerade?
What are you just doing?
เธอกำลังทำอะไรอยู่น่ะ?



4. Seit April (lebe) ich in Tokio.
I have been living in Tokyo since April.
ฉันใช้ชีวิตอยู่ในโตเกียวตั้งแต่เดือนเมษายน



5. Was (studiert) ihr in München? – Wir (studieren) Jura.
What are you studying in Munich? – We are studying law.
พวกคุณเรียนอะไรในมิวนิคครับ/คะ? – พวกเราเรียนกฎหมายครับ/ค่ะ



6. (Haben) Sie Durst? – Ja, ich (habe) Durst.
Are you thirsty? – Yes, I am thirsty.
คุณหิวน้ำมั้ยครับ? – ค่ะ ดิฉันหิวน้ำ


[ข้อสังเกต: ภาษาอังกฤษจะใช้รูปคำขยาย thirsty “หิวน้ำ” ควบคู่กับกริยา be “อยู่” เพื่อบอกสภาพ แต่ภาษาเยอรมันใช้รูปคำนาม Durst “ความกระหาย” กับกริยา haben “มี”]



7. Anna (wird) Lehrerin.
Anna will be a teacher.
Anna จะเป็นครู



8. (Hat) Peter viel Geld? – Ja, er (ist) sehr reich.
Does Peter have much money? – Yes, he is very rich.
Peter มีเงินเยอะรึเปล่า? – ใช่แล้ว เขารวยมาก



II.

1. Ich spiele morgen Tennis.
I’ll play tennis tomorrow.
พรุ่งนี้ฉันจะเล่นเทนนิส


Wir spielen morgen Tennis.
We’ll play tennis tomorrow.
พรุ่งนี้เราจะเล่นเทนนิส



2. Du wirst in Wien Musiker.
You’ll be a musician in Vienna.
เธอจะเป็นนักดนตรีในเวียนนา


Wolfgang wird in Wien Musiker.
Wolfgang will be a musician in Vienna.
Wolfgang จะเป็นนักดนตรีในเวียนนา



3. Marie arbeitet vier Stunden fleißig.
Marie has been working diligently for four hours.
Marie ได้ทำงานอย่างตั้งใจมาเป็นเวลาสี่ชั่วโมง


Ihr arbeitet vier Stunden fleißig.
You have been working diligently for four hours.
พวกคุณได้ทำงานอย่างตั้งใจมาเป็นเวลาสี่ชั่วโมง



III.

1. Abends trinkt er Bier.
He drinks beer in the evening(s).
เขาดื่มเบียร์ ตอนเย็น/ทุกเย็น


Bier trinkt er abends.
He drinks beer in the evening(s).
เขาดื่มเบียร์ ตอนเย็น/ทุกเย็น


[ข้อสังเกต: คำนามที่ไม่มี article ขึ้นต้นอย่าง Bier นั้นปกติแล้วแม้จะเป็นกรรมก็จะไม่ผันรูปอยู่ดี ทำให้หลายคนอาจจะสงสัยว่า “ถ้าอย่างนั้นประโยคหลังจะแปลว่า “เบียร์ดื่มคน” ก็ไม่ผิดน่ะสิ? แน่นอนว่าหากดูความหมายแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ที่สำคัญกว่าก็คือสรรพนาม er นั้นหากว่าเป็นกรรมจะมีการผันรูปอื่น เพราะฉะนั้นการที่เป็น er ตรงนี้จึงเป็นการชี้ว่านี่คือประธานไม่ใช่กรรม แล้วคำนามที่เหลือคือเบียร์จึงตกอยู่ในฐานะกรรมไปโดยปริยาย]



2. Jetzt wohnt Hans in Hamburg.
Now Hans lives in Hamburg. = Hans lives in Hamburg now.
ตอนนี้ Hans อาศัยอยู่ใน Hamburg


In Hamburg wohnt Hans jetzt.
In Hamburg lives Hans now. = Hans lives in Hamburg now.
Hans อาศัยอยู่ใน Hamburg ตอนนี้


[ข้อสังเกต: หลายคนคงจะสงสัยว่าทั้งๆ ที่กฎระบุว่ากริยาต้องอยู่ตำแหน่งที่สอง แต่ทำไม wohnt ที่เป็นกริยาจึงเป็นคำที่สามได้ คำตอบก็คือกลุ่มคำ In Hamburg นั้นเป็นการจับคู่ระหว่าง preposition In กับคำนาม Hamburg จึงถือเป็นองค์ประกอบเดียว (ในที่นี้คือหัวประโยค) ดังนั้น wohnt ที่ตามหลังมาจึงเป็นองค์ประกอบที่สองถูกต้องตามกฎแล้ว]



3. Übt Irene heute Klavier?
Does Irene practice piano today?
วันนี้ Irene ฝึกเปียโนรึเปล่า?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

DEVELOPER ZOne